การทำงานของลิฟท์บ้านทำงานยังไง?

ลิฟท์ (Elevation หรือ Lift) เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกรูปแบบนึงที่ทันสมัยและเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจากให้ความสะดวกสบาย รวดเร็ว ปลอดภัย และเบาแรงในการขนส่งได้อย่างดี ส่วนใหญ่ลิฟท์มักถูกสร้างอยู่ในสถานที่ใหญ่ ๆ เช่น โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า ษริษัทใหญ่ คอนโด เป็นต้น นอกจากนี้ การใช้งานลิฟท์ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้งานและสถานที่ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งานนั่นเอง

ลิฟท์บ้าน เป็นตัวช่วยสำคัญมาก สำหรับบ้านที่มีผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ ที่มีปัญหาเรื่องการเดิน หรือขึ้นลงบันได การมีลิฟท์บ้านนี้ จะทำให้สามารถใช้ชีวิตภายในบ้านได้อย่างสะดวกและปลอดภัยได้ 

ประเภทของลิฟท์บ้าน

และในปัจจุบันการติดตั้งลิฟท์ทำได้ง่ายมากขึ้น ด้วยระบบลิฟท์บ้านสำเร็จรูป ที่สามารถติดตั้งได้โดยไม่จำเป็นต้องมีบ่อลิฟท์ มีทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้

  1. ลิฟท์บ้านระบบที่ 1 : Hydraulic System

การทำงาน ส่วนมากใช้ในอุตสาหกรรม นำระบบไฮดรอลิคมาใช้ในการเคลื่อนลิฟท์ด้วยแรงดันภายในโดยตรง ส่วนความเร็วในการขับเคลื่อนอยู่ที่กำลังปั้มที่ใช้ และต้องอาศัยปั้มไฮดรอลิคขนาดใหญ่ในการสร้างแรงดันให้กระบอกไฮดรอลิค

ข้อดี – มีระบบไม่ซับซ้อน ใช้งานง่าย มองเห็นการทำงานของลิฟท์ระบบนี้ได้ชัดเจน

ข้อเสีย – ต้องหมั่นตรวจเช็คกระบอกอยู่เสมอ เนื่องจากเป็นลิฟท์ที่ป้องกันฝุ่นได้ค่อนข้างยาก และต้องใช้ซีนเกรดดีมาก เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของยางเคลื่อน อีกทั้งเป็นลิฟท์ที่จำกัดความสูง สิ้นเปลืองค่าไฟ เพราะมอเตอร์จะทำงานตลอดเวลา

  1. ลิฟท์บ้านระบบที่ 2 : Screw Driven

การทำงาน เป็นลิฟท์ที่ใช้การเคลื่อนด้วยแรงบิด  โดยใช้เกลียวเพื่อไต่ขึ้นลงตามความสูงของราว 

ข้อดี – ควบคุมได้ ประหยัดพลังงาน ติดตั้งในพื้นที่ที่จำกัดได้สบาย 

ข้อเสีย – ใช้พลังงานค่อนข้างเยอะ จำกัดชั้นความสูงในการขนส่ง

  1. ลิฟท์บ้านระบบที่ 3 : สลิง

การทำงาน ผ่านรอกไฟฟ้าที่ต่อเข้ามอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อควบคุมความสมดุลของลิฟท์ให้เคลื่อนที่ได้ง่ายมากขึ้น มีประสิทธิภาพสูงกว่าลิฟท์ชนิดอื่น ๆ มีการทำความเร็วสูง

ข้อดี – มีระบบเกียร์ในการควบคุมเพื่อความสมดุล ใช้พลังงานน้อย มอเตอร์เคลื่อนที่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ข้อเสีย – จำเป็นต้องขุดบ่อปล่อยลิฟท์ เพื่อให้สามารถติดตั้งและขับเคลื่อนได้

การตรวจเช็คและบำรุงรักษาลิฟท์บ้าน

  • ทำความสะอาดอุปกรณ์ลิฟท์ทุกส่วน
  • เช็คน้ำมันราง ข้อต่อ และหมุนหมุนต่าง ๆ
  • เช็คการทำงานของแสงไฟฉุกเฉิน หรือกระดิ่ง
  • เช็คลวดสลิงของลิฟท์
  • เช็คสภาพความตึงของลวดสลิงลิฟท์
  • เช็คประตูนอกและในลิฟท์
  • เช็คระบบเบรกของลิฟท์
  • เช็คผ้าเบรกและทำความสะอาด
  • เช็คการจอดในระดับชั้นต่าง ๆ ว่าลงถูกชั้น และพอดีหรือไม่

สรุปการทำงานของลิฟท์บ้าน

ลิฟท์บ้านทั้ง 3 ระบบนี้ มีข้อแตกต่างตามการใช้งานต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าจะนำลิฟท์บ้านไปติดตั้งเพื่อจุดประสงค์อะไร จึงต้องมีการศึกษาและขอคำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญหรือสถาปนิก เพื่อให้การติดตั้งลิฟท์บ้าน สอดคล้องกับรูปแบบบ้านของเรา ช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยให้บ้านและคนในครอบครัว